เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 3

เป้าหมายความเข้าใจ   นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของเส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบรูปนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome












3


2226
ต.ค.59
โจทย์
วงกลม
-เส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบรูป

คำถาม
นักเรียนคิดความสัมพันธ์ของเส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบรูปอย่างไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวงกลม 
(เส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบรูป)
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับวงกลม 
(เส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบรูป)
Brainstorm
- ร่วมกันคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับวงกลม 
(เส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบรูป)
Wall Thinking
- ติดชิ้นงานเกี่ยวกับวงกลม 
(เส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบรูป)

- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต(ภาพวงกลม)
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
วันจันทร์
ชง
ครูพานักเรียนเล่นเกมการคิด
เชื่อม
- นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด พร้อมกับอธิบายวิธีคิดต่อครูและเพื่อนๆ

วันอังคาร
กิจกรรม: เส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบวง
ชง
ครูให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างเส้นรอบวงกับเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมต่างๆ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
1.หาวิธีการที่จะวัดเส้นรอบวงและเส้นผ่านศูนย์กลาง

2.ให้นักเรียนเขียนผลที่ได้ลงในตาราง
3.มีกฎที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเส้นรอบวงกับเส้นผ่านศูนย์กลางหรือไม่
4.ให้ประมาณว่าเส้นรอบวงเป็นกี่เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง
เชื่อม
 นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอวิธีการคำนวณโดยการประมาณค่าใกล้เคียง

วันพุธ





ชง
ครูนำวงกลมมาให้ผู้เรียนเทียบเคียง สังเกตเห็นความสัมพันธ์
“ วงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 8cm จะมีเส้นรอบวงยาวกี่cm
เชื่อม
“เส้นรอบวงของกระป๋องใบหนึ่งมีขนาด 62.8cm กระป๋องใบนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกี่cm
-
1.ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลางของกระป๋องยาว  cm ให้เขียนประโยคสัญลักษณ์จากสูตรที่ปรากฏในข้อ2
2.กระป๋องใบนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกี่cm

วันศุกร์
ใช้
โจทย์ที่ท้าทาย
"นักเรียน 6คน กางแขนออกเพื่อที่จะโอบรอบต้นไม้ใหญ่ ที่อยู่วัดลองประมาณดูสิว่าไม้ต้นนี้ จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางกี่เมตร?"
คำถามกระตุ้นคิด.
“นักเรียนแต่ละคนจะโอบได้ความยาวประมาณ 1.4m ให้นักเรียนคำนวณหาความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางโดยใช้อัตราส่วนรอบวงเป็น3

ภาระงาน
- นักเรียนได้เล่นเกมปริศนาคำทายจากตัวเลข
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด 
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของเส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบรูปนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้

ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับวงกลม 
(เส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบรูป)ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น   และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับวงกลม
(เส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบรูป)
ทักษะการคิด
- นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีคิดและการนำเสนองานในมิติที่หลากหลาย
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เกิดจากทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำและเข้าใจได้

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

.........................................................





1 ความคิดเห็น:

  1. เรียนรู้ส่วนประกอบของวงกลมผ่านมาแล้ว พี่ประยุกต์ใช้ความรู้หาความสัมพันธ์ระหว่าง 'ความยาวรอบรูป' กับ 'เส้นผ่านศูนย์กลาง' พี่ๆ ป.5 เรียนรู้ผ่านActive Learning ให้พี่ๆเตรียมอุปกรณ์วงกลมมาให้นักเรียนและอุปกรณ์การวัด(ตลับเมตร, เส้นเชือก, ไม้บรรทัด) ครูให้ทุกคนได้วัดอุปกรณ์ แล้วจึงนำสู่กิจกรรมหาค่าพาย(pi)
    _เพื่อความเข้าใจของแต่ละคน ทุกคนได้เชื่อมโยงความเข้าใจตนเองกับผู้อื่น ทุกคนได้ทำจิตศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างวงกลม ครูจึงจัดกิจกรรมต่อเนื่องให้พี่ๆ ได้เชื่อมโยงตนเองกับเพื่อนๆ สร้างการแสดงละคร 'ส่วนประกอบของวงกลม

    ตอบลบ